วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เรือนไทยซีฟู๊ด

อาหารการกินบนเกาะช้างแห่งนี้ หากจะพูดไปแล้วมีร้านอาหารมากมายให้เลือกรับประทานกันเลยค่ะ ทั้งร้านในรีสอร์ทต่างๆ ไปจนถึงร้านค้าริมทาง ว่าแต่เค้ามีดีอะไรกันบ้าง อย่ารอช้า ไปชมกันดีกว่าค่ะ.... ดูต่อ



อ้างอิง :http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=17076249.0

ร้านอาหารริมทะเลซีฟู๊ด

 
ร้านอาหารริมทะเลซีฟู๊ด อยู่ใกล้กับปลายสะพานแหลมงอบ เป็นร้านอาหารติดริมน้ำ เป็นพวกอาหารทะเล
และมีรสชาติอาหารที่อร่อย มีคาราโอเกะร้อง เป็นบรรยากาศที่น่ารับประทานอาหาร
อ้างอิง: www.bangkaew.com

วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

สมาชิกในกลุ่ม

 

1. เด็กหญิง กฤติกา มนัสนิท         เลขที่4 ชั้น ม.3/1
 
 
 
2. เด็กหญิง ณัฐธิดา โพธิผล        เลขที่10  ชั้น ม.3/1
 
 
3.เด็กหญิง พิรญาณ์  รัตนพาหิระ เลขที่27 ชั้น ม.3/1

 
 
4.เด็กหญิง มินตรา วงษ์แก้ว          เลขที่29 ชั้น ม.3/1

 
5.เด็กหญิง สุภาวดี เสียงใส            เลขที่40 ชั้น ม.3/1
 

เกาะไม้ซี้


 
 
 
เกาะไม้ซี้ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ อยู่ใกล้ๆ กับอ่าวสลักอวน ของเกาะกูด ในเขตจังหวัดตราด ลักษณะของเกาะ เป็นเกาะเล็กๆ เกาะหนึ่ง ในหมู่เกาะกูด มีพื้นที่ประมาณ 16 ตร.กม. พื้นที่ ส่วนใหญ่ เป็นสวนมะพร้าว จุดเด่นบนเกาะไม้ซี้ ทางด้านทิศตะวันตกมีชายหาด สามารถลงเล่นน้ำได้ โดยเฉพาะรอบเกาะ มีแนวปะการังใต้น้ำสวยงามมาก บริเวณด้านทิศตะวันออกของเกาะที่อยู่ใกล้กับ เกาะกูด มีฟาร์มเลี้ยงหอยมุก ของบริษัท มุกไทย จำกัด ตั้งอยู่ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าชมฟาร์มเลี้ยงหอยมุกได้ แต่ต้องขออนุญาตผู้ดูแลฟาร์มหอยมุกเสียก่อน อีกทั้งยังมีจุดชม พระอาทิตย์ตกที่สวยงามมาก
การเดินทาง  :
จากท่าเรือบ้านด่านเก่า เดินทางด้วยเรือประมง ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชม. แต่ถ้าเดินทางด้วยเรือ เร็ว ใช้เวลาปร ะมาณ 50 นาที เท่านั้น ถ้าเดินทาง จากท่าเรือ แหลมหินดำ  ที่เกาะกูด ใช้เวลาประมาณ 20นาที
 
อ้างอิง :http://www.tradnews.com/tourist_attraction_th.html  
 

เกาะหมาก


 
 
 
 
      เกาะหมาก เกาะใหญ่เป็นอันดับ 3 ในท้องทะเลตราด มีรูปร่างสัณฐานคล้ายรูปดาวสี่แฉก อยู่ระหว่างเกาะช้างกับเกาะกูด ห่างจากฝั่งประมาณ 38 กิโลเมตร เกาะหมากมีที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง เช่น บริเวณอ่าวตานิด อ่าวไผ่ อ่าวสวนใหญ่ อ่าวโปร่ง อ่าวผาด อ่าวแดง อ่าวพระ ชายหาดตามแหล่งท่องเที่ยวของเกาะหมากเหล่านี้ มีหาดทรายขาวสะอาด น้ำทะเลสดใสสวยงาม ใกล้เคียงกับเกาะหมากมีเกาะเล็กเกาะน้อยหลายเกาะ เช่นเกาะขาม เกาะระยั้งใน เกาะระยั้งนอก เกาะกระดาด ซึ่งหมู่เกาะเหล่านี้ต่างก็มีความสวยงาม มีหาดทรายขาว ทิวทัศน์ร่มรื่น มีแนวปะการังที่สมบูรณ์ เป็นแหล่งดำน้ำอย่างดีทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก
 
 

เกาะกูด


 
 
 
 
 
 
       เกาะกูด เกาะใหญ่อันดับ 2 ของหมู่เกาะทะเลตราด มีธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีหาดทรายและน้ำทะเลใสสีมรกต จนได้รับการขนานนามว่า "อันดามันแห่งทะเลตะวันออก" เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวและพักผ่อนท่ามกลางธรรมชาติที่ไม่ต้องการความวุ่นวาย นักท่องเที่ยวนิยมเดินทางไปพักผ่อนในช่วงเดือนตุลาคม ไปจนถึงเดือน พฤษภาคม เพราะเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการท่องเที่ยว ที่สุดของท้องทะเลตราดต้องเกาะกูด พร้อมด้วยหาดทรายขาว ให้ท่านได้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติอย่างแท้จริง

เกาะช้าง


 เกาะช้าง มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศรองจากเกาะภูเก็ต แถมยังมีเกาะเล็กเกาะใหญ่ มากกว่า 52 เกาะ ให้เลือกว่าจะไปนอนกินลมชมวิวสวยๆ ที่ไหนอีกทั้งบน เกาะช้าง ยังมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ทำแบบไม่มีเหงาแต่เดิม เกาะช้าง ไม่มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยหากมีความสำคัญในฐานะที่เป็นท่าจอดเรือหลบลมมรสุม เป็นแหล่งเสบียงอาหารและน้ำจืดโดยเฉพาะบริเวณอ่าวสลักเพชร หรืออ่าวสลัดเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่โจรสลัด ชาวจีนไหหลำ และญวนปัจจุบันบน เกาะช้าง มีประชาชนอาศัยอยู่ 8 หมู่บ้าน และมีเนื้อที่ทั้งสิ้น650 ตารางกิโลเมตร เฉพาะ เกาะช้าง มีเนื้อที่ถึง 268,125 ไร่ หรือประมาณ429 ตารางกิโลเมตร 

เกาะช้าง

เกาะช้าง

          สภาพโดยรวมบน เกาะช้าง นั้นมีพื้นที่กลางเกาะเป็นภูเขา และป่าดิบชื้นมีที่ราบอยู่ตามขอบเกาะก่อนถึงชายหาดของอ่าวต่าง ๆที่ราบเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าว สวนยางพารา และสวนผลไม้อื่น ๆ เช่นเงาะ ทุเรียน ส้มโอ ฯลฯ ตลอดจนเปิดเป็น ที่พักเกาะช้าง ของนักท่องเที่ยวแต่ส่วนใหญ่แล้วพื้นที่ของ เกาะช้าง เป็นภูเขาสูง มีหินผาสลับซับซ้อนมีสภาพสมบูรณ์ เป็นป่าดงดิบเขา ยอดเขาที่สูงที่สุด ได้แก่ ยอดเขาสลักเพชรสูงถึง 744 เมตร (โห... สูงมาก ๆ เลยอ่ะ) รองลงมา ได้แก่ เขาจอมปราสาทและเขาหอม ซึ่งภูเขาเหล่านี้ เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำและลำธารต่าง ๆที่ทำให้เกิดน้ำตกหลายแห่งบน เกาะช้าง นี้นั่นเอง
อ้างอิง : travel.kapook.com/view347.html
            

ร้านอาหารอารีดอย

   ร้านอาหารอารีดอย อ.แหลมงอบ จ.ตราด เป็นร้านอาหารตั้งอยู่ร้านริมถนนบนเส้นทางที่จะไปท่าเรือเฟอรรี่เพื่อข้ามไปเกาะช้าง มีผู้คนมาทานกันหนาแน่นครับ ร้านอาหารอิสลามอารีดอย อ.แหลมงอบ จ.ตราด 
  เราเดินทางไปท่องเที่ยวในตัวอำเภอแหลมงอบ และได้แวะร้านขายของฝากตรงจุดสิ้นสุดเขตประเทศไทยฝั่งตะวันออก จึงได้ถามกับเจ้าของร้านถึงร้านอาหารอิสลาม เขาก็แนะนำให้มาที่นี่ครับ เป็นเส้นทางที่เราต้องใช้เพื่อเดินทางไปยังเกาะช้างอยู่แล้ว
อ้างอิง : www.thaihalaltrips.com/areedoy-restaurant-laem-ngop-trat

ยุทธนาวี เกาะช้าง


การรบที่เกาะช้าง หรือที่รู้จักกันในนาม ยุทธนาวีเกาะช้าง เป็นเหตุการณ์รบทางเรือที่เกิดขึ้นในกรณีพิพาทไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการที่ไทยเรียกร้องให้ปรับปรุงเส้นแบ่งเขตแดน ไทย-อินโดจีนฝรั่งเศส เสียใหม่ โดยใช้แนวร่องน้ำลึกเป็นเกณฑ์ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และหลักความยุติธรรม และให้ฝรั่งเศสคืนดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงที่ฝรั่งเศสยึดไปจากเหตุการณ์ ร.ศ. 112 ให้ไทย ยุทธภูมิในการรบครั้งนี้เกิดขึ้นที่บริเวณด้านใต้ของเกาะช้าง จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2484 และถือเป็นการรบทางทะเลครั้งเดียวในประวัติศาสตร์กองทัพเรือไทย และรัฐบาลวิชีฝรั่งเศสในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อีกด้วย
อ้างอิง : https://th.wikipedia.org/wiki/ยุทธนาวีเกาะช้าง

หาดทรายดำ


หาดทรายดำ ตั้งอยู่ที่ตำบลบางปิด ห่างจากอำเภอแหลมงอบประมาณ 12 กิโลเมตร หากมาด้วยรถส่วนตัวใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3156 เลยทางแยกแหลมงอบ – บ้านแสนตุ้งประมาณ 8 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 4 กิโลเมตร ก็จะถึงสถานีพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลนที่ 4 (บ้านน้ำเชี่ยว)
อ้างอิง : travel.mthai.com › นักเที่ยวเชี่ยวทาง

สุดแผ่นดินตะวันออก


แหลมงอบ ยังถือว่าเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือโดยสารประจำทาง หรือเช่าเรือ ไปเที่ยวเกาะต่างๆ ได้ เช่น เกาะช้าง เกาะกระดาด เกาะกูด เกาะแรด ฯลฯ 
 นอกจากนี้ที่แหลมงอบยังเป็นสถานที่สุดแผ่นดินชายฝั่งไทยทางภาคตะวันออกของประเทศไทยอีกด้วย โดยจุดเด่นที่มองเห็นเด่นชัด และกลายเป็นสัญลักษณ์ของที่นี่ คือ ประภาคารที่ตั้งตระหง่านอยู่บริเวณปลายแหลม และที่นี่ยังเป็นแหล่งร้านขายของที่ระลึก และอาหารทะเล กะปิ น้ำปลา กุ้งแห้ง รวมทั้งงอบแบบต่างๆ ด้วย 
อ้างอิง:http://travel.thaiza.com

อ่าวตาลคู่

    
   ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 3156 เลยทางแยกเข้าเกาะปุยประมาณ 5 กม. จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าไปอีก 4 กม. ชายหาดอ่าวตาลคู่เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อน เพราะมีความสวยงามและอากาศดี ชาวจังหวัดตราดนิยมไปพักผ่อนในช่วงวันหยุด มีร้านจำหน่ายอาหาร
 สิ่งที่น่าสนใจ - ชายหาดยาวประมาณ 500 ม. เม็ดทรายสีนวล ลงเล่นน้ำทะเลได้ แต่หากเป็นช่วงเดือน มิ.ย. - ต.ค. จะมีคลื่นลมแรงแก่การเล่นน้ำ จากหาดอ่าวตาลคู่จะมองเห็นเกาะช้างได้อย่างชัดเจน
   ชื่ออ่าวตาลคู่มากจากต้นตาลสูงใหญ่ที่ขึ้นสองต้นคู่กันอยู่ตรงกึ่งกลางชายหาดพอดี แต่ต้นตาลคู่นี้ได้โค่นล้มไปเพราะน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งเมื่อประมาณช่วงปี พ.ศ.2524 คงเหลือแต่ตอไม้ล้มที่ชาวบ้านนำผ้าแพรไปผูกไว้

อ้างอิง : place.thai-tour.com/trad/laemngop/1335

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

ประวัติแหลมงอบ









ตำนานของแหลมงอบตำนานแรก ได้เล่าว่า มีหญิงชราคนหนึ่ง ชื่อ ยายม่อม มีคอกควายอยู่ที่สลักคอก วันหนึ่งควายของยายม่อมได้หายไป ยายม่อมจึงออกตามหาควาย และได้จมน้ำทะเลตายกลายเป็นโขดหินชื่อ ยายม่อม ส่วนงอบของยายม่อมกลายเป็นแหลมงอบ ควายของยายม่อมกลายเป็นโขดหินเล็ก ๆ เช่นกัน ส่วนตำนานของเกาะช้างตำนานแรก เล่าว่า เดิมเกาะนี้มีเสืออยู่ ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีชาวญวนคนหนึ่งชื่อ องค์โด้ ได้ทำพิธีขว้างก้อนหินลงไปในทะเลและสาบว่า ถ้าหินนี้ไม่ผุดขึ้นมาให้คนเห็น เกาะช้างจะไม่มีเสืออีกต่อไป เกาะช้างจึงไม่มีเสือมาจนทุกวันนี้ นิทานเรื่องนี้ นายติ้น ที่เป็นคนที่อยู่เกาะช้างได้เล่าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวง ต้นสกุล สลักเพชรุ้ง นอกจากนี้ยัง มีตำนานแหลมงอบ เกาะช้าง ซึ่งมีผู้เขียนไว้อีกว่า มีความเกี่ยวข้องกับชื่อของหมู่เกาะช้าง ชื่อสถานที่ และเหตุที่เกาะช้างไม่มีช้าง มีอยู่สมัยหนึ่ง พระโพธิสัตว์ได้สร้างตำหนักเลี้ยงช้างอยู่ที่เกาะช้าง มีช้างพลายอยู่เชือกหนึ่งเป็นจ่าโขลง มีชื่อว่า อ้ายเพชร และมีสองตายายคอยเลี้ยงดู ตาชื่อ ตาบ๋าย ยายชื่อ ยายม่อม วันหนึ่ง อ้ายเพชรจ่าโขลงเกิดตกมันเตลิดเข้าในป่า ไปผสมพันธุ์กับนางช้างป่า ตกลูกมา 3 เชือก เมื่อพระโพธิสัตว์รู้เรื่องเข้า จึงได้ทรงสั่งให้ตายายติดตามหาอ้ายเพชร โดยให้ตาไปทางหนึ่ง ยายไปอีกทางหนึ่ง อ้ายเพชรหนีไปจนสุดเกาะด้านเหนือจึงว่ายน้ำมาขึ้นฝั่งซึ่งปัจจุบันนี้เรียกว่า บ้านธรรมชาติ ส่วนลูกทั้งสามที่ตามมาด้วย ว่ายน้ำยังไม่เป็น จึงจมน้ำตายแล้วกลายเป็นหิน 3 กอง อยู่บริเวณอ่าวคลองสน จนชาวบ้านพากันว่า หินช้างสามลูกในขณะที่อ้ายเพชรว่ายน้ำไปถึงกลางร่องทะเลลึก ได้ถ่ายมูลทิ้งไว้กลายเป็นกองหินอยู่ตรงนั้น เรียกว่า หินขี้ช้างปัจจุบันมีประภาคารบนหินกองนี้ เมื่อสามารถขึ้นฝั่งได้แล้ว อ้ายเพชรได้เดินเลียบไปตามชายฝั่งทิศใต้ ตาบ๋ายเห็นว่าไปไกลแล้วตามไปไม่ทันจึงเดินทางกลับ ปล่อยให้ยายติดตามไปผู้เดียว ยายม่อมตามไปจนทันช้างขึ้นฝั่งแต่ไม่กล้าเข้าไปในป่าเพราะกลัวว่าสัตว์จะทำร้ายเอา ในที่สุดก็ตกลงไปในโคลนไม่สามารถขึ้นมาได้ จนถึงแก่ความตายอยู่ตรงนั้นเอง ร่างกายของแกกลายเป็นหินอยู่ตรงนั้น ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า หินยายม่อมส่วนงอบที่สวมไว้ได้หลุดลอยไปติดอยู่ที่ปลายแหลม และกลายเป็นหิน ชาวบ้านเรียกว่า แหลมงอบตรงบริเวณที่ตั้งประภาคารในปัจจุบันนี้ ซึ่งเป็นชื่อที่ได้จากงอบของยายม่อมที่ลอยไปติดชายฝั่งนั่นเอง เมื่อพระโพธิสัตว์ทราบว่า อ้ายเพชรมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ จึงเข้าใจว่าอ้ายเพชรจะต้องไปที่เกาะอีก จึงเกณฑ์คนให้ทำคอกดักไว้จนเกือบถึงท้ายเกาะด้านใต้ ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณแถบนี้ว่า บ้านคอกและเกาะซึ่งเกิดจากลิ่มและสลักที่ทำคอกนั้น เรียกว่า เกาะลิ่ม” “เกาะสลักส่วนมากจะเรียกรวมกันว่า บ้านสลักคอกฝ่ายอ้ายเพชรนั้น เมื่อเดินเลียบชายฝั่งมาจนถึงท้ายเกาะ ก็ข้ามไปยังเกาะตามที่คาดไว้ พอว่ายน้ำไปได้สักครู่หนึ่งก็ถ่ายออกมากลายเป็น หินกองทุกวันนี้น้ำในบริเวณนั้นลึกมาก แต่ไม่ได้เป็นเส้นทางเดินเรือ จึงไม่ได้มีการสร้างประภาคารขึ้นที่บริเวณนี้ เมื่ออ้ายเพชรไปถึงแล้วแทนที่จะเข้าคอกไป  กลับเดินเลียบฝั่งอ้อมแหลมเข้าไปทางอ่าวด้านนอก พระโพธิสัตว์จึงได้สั่งให้คนไปช่วยกันสกัดให้กลับมาเข้าคอก ชาวบ้านจึงเรียกที่ ๆ ไปสกัดข้างนี้ว่าไปสลักหน้า และเรียกหมู่บ้านบริเวณนี้ว่า บ้านสลักเพชรซึ่งหมายถึง สลักหน้าอ้ายเพชร โดยเหตุที่เกิดความยุ่งยากนี้ พระโพธิสัตว์จึงฝังอาถรรพ์ไว้ตามเกาะต่าง ๆ มิให้ช้างอาศัยอยู่อีกต่อไป นับแต่นั้นมา เกาะต่าง ๆ จึงไม่มีช้างอาศัยอยู่จนปัจจุบันนี้
อ้างอิง : www.nithan.in.th/ตำนานแหลมงอบ-เกาะช้าง